ครัวนับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ในเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในคอนโดมิเนียม
รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
อพาร์ทเม้นท์ หรือหอพักที่มีพื้นที่ไม่มาก กลิ่นของอาหาร เวลาที่ต้องใช้ในการประกอบอาหาร รวมทั้งการล้างและการจัดเก็บของเครื่องมือ ทำให้ครัวในปัจจุบันมีลักษณะเป็นเพียงพื้นที่อุ่นอาหารเท่านั้น มีตู้อบ และตู้ไมโครเวฟเล็ก ๆ เท่านั้น อาหารเดลิเวอรี่จึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทำงานในปัจจุบัน การพัฒนาอาหารเดลิเวอรี่เพื่อให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและมาตรการของการควบคุมคุณภาพของอาหารดีขึ้น
ในสภาพการณ์เช่นทุกวันนี้ ไม่มีอะไรจะดีกว่าอาหารเดลิเวอรี่อีกแล้ว
วิกิพีเดีย เขียนถึง ‘อาหารเดลิเวอรี่’ ว่า ได้มีการบันทึกครั้งแรกในโลกโดยเกิดที่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 2311 (ค.ศ.1768) ซึ่งอาหารเดลิเวอรี่รายการแรกที่มีบันทึกคือ ‘บะหมี่เย็น’ และได้เริ่มมีลงโฆษณาการบริการอาหารเดลิเวอรี่ครั้งแรกผ่านทางหนังสือพิมพ์เกาหลีในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ.1906) คนไทยเอง โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่อย่าง กทม. ตั้งแต่เริ่มยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เราก็รู้จัก ‘อาหารเดลิเวอรี่’ เพียงแต่ยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตปกติของเราจนกระทั่งถึงยุคโควิด-19 ระบาด
คนเมืองใหญ่อย่าง กทม.เป็นเมืองของครอบครัวขนาดเล็ก หรือไม่ผู้คนก็อยู่อาศัยเพื่อการทำงานไม่ได้อยู่เป็นครอบครัว อยู่คอนโด ห้องเช่า บ้านเช่า ที่ไม่มีคนที่บ้านคอยดูแลหรือมีครัวไว้คอยทำอาหารให้รับประทาน อย่างมากก็มีเพียงไมโครเวฟไว้อุ่นอาหาร ชีวิตจึงพึ่งพาอยู่กับร้านอาหารขนาดเล็กใกล้บ้าน อาหารข้างทาง และอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ‘อาหารเดลิเวอรี่’ ก็รู้จักแต่ยังห่างไกลชีวิตเพราะ ประเภทอาหาร ระบบการขาย การสั่งซื้อ การจัดส่งที่ยังไม่สะดวกพอ ซึ่งเมื่อรวมราคาอาหารและค่าส่ง ราคาก็ยังแพงกว่าการซื้อจากร้านใกล้บ้านมากมายและยังสะดวก ราคาถูกใจ
ซื้อแล้วได้รับประทานเลย ร้อนๆ รอไม่นาน
แต่พอมาถึงยุคโควิด-19 ระบาด ชีวิตเข้าสู่ ‘ชีวิตวิถีใหม่’ การต้องอยู่บ้าน จำกัดการเดินทาง รักษาระยะห่างทางสังคม มาตรการปิดร้านค้าต่างๆ รวมทั้งร้านอาหารทั้งร้านใหญ่และร้านเล็กๆ ที่เคยเป็นที่พึ่งของคนเมือง ทำอาหารเองก็ไม่ได้ เพราะยุ่งยาก และที่สำคัญ ’ไม่มีครัว’ และเมื่อร้านอาหารต่างๆ รวมถึงบริการ ‘อาหารเดลิเวอรี่’ กลับมามีบริการให้อย่างสะดวก รวดเร็ว อร่อย สะอาดถูกหลักอนามัยครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่สถานประกอบอาหาร อาหารที่เป็นวัตถุดิบ แม่ครัว รูปแบบการจัดส่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ พนักงาน ชนิดอาหารมีให้เลือกหลากหลาย และราคาที่รวมค่าส่งก็ไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับอาหารจากร้านสะดวกซื้อ ทุกอย่างเหมาะสมกับชีวิตคนเมืองใหญ่แถมไม่ต้องล้างทำความสะอาด
จาน ชาม ช้อน ให้ยุ่งยาก คนเมืองจึงนิยม ‘อาหารเดลิเวอรี่’อย่างล้นหลามจนกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของคนเมือง
ในฐานะผู้ใช้บริการ ’อาหารเดลิเวอรี’ ที่ต้องการอาหารเดริเวอรีที่สะอาด ไม่เสี่ยงต่อทั้ง โควิด-19 และโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หรืออาหารเป็นพิษและมีราคารวมค่าส่งในอัตราที่เหมาะสมแล้ว ทุกกติกาอยู่ในเกณฑ์รับได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีก 2-3 สิ่ง ที่อยากได้รับบริการเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการ ‘อาหารเดลิเวอรี่’
สิ่งแรกคือ: ‘ฉลากอาหาร’ ที่อยากให้มีแนบมากับกล่องบรรจุอาหารทุกๆ ครั้งเหมือน ‘ฉลากยา’ เพื่อชี้แจง/แนะนำวิธีการบริโภค วิธีเก็บ วิธีอุ่นอาหารที่เหมาะสมปลอดภัยเพราะมันเป็นชีวิตวิถีใหม่ที่เรายังไม่คุ้นเคยกับมันเลย เช่น
บ่อยครั้งอาหารจัดส่งมีปริมาณมาก และเราก็เป็นคนกินน้อย เสียดายอาหารเหลือ อยากแบ่งเก็บไว้กินอีกมื้อก็ไม่รู้ว่าควรทำหรือไม่และอย่างไร ตัวอย่างสิ่งที่อยากทราบ เช่น
- เมื่อได้รับอาหารแล้วควรเปิดบรรจุภัณฑ์ หรือควรปิดบรรจุภัณฑ์จนถึงเวลารับประทาน
- ถ้าต้องการเก็บไว้ทานในวันต่อไป ทำได้ไหม ควรเก็บอย่างไรจึงจะปลอดภัย และเก็บไว้ได้นานเท่าไร
- อาหารที่เก็บไว้ ก่อนบริโภคควรปฏิบัติอย่างไร
- เครื่องปรุงทั้งหลาย เช่น น้ำจิ้มต่างๆ ใส่สารกันบูดหรือไม่
- อื่นๆ ตามที่ผู้ให้บริการคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ปลอดภัยในการบริโภค ‘อาหารเดลิเวอรี่’
อีกประการที่อยากได้จาก ‘อาหารเดลิเวอรี่’ คือ ยังมีคนบางกลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะตามวัยและตามสุขภาพ เช่น เด็กทั้งเด็กเล็กและเด็กโต และผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังไม่มีคนดูแลที่นับวันจะมีจำนวนสูงขึ้นในสังคมเมือง ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มักใช้ชีวิตลำพังตั้งแต่สมัยยังไม่เกษียณจากงานจนถึงวัยเกษียนก็มักมีโรคประจำตัวสุดฮิต คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
ทั้งนี้ อาหารสำหรับเด็กอาจจะให้บริการอยาก แต่ถ้าเมื่อเริ่มจากแบบสำรวจ ก็อาจหาทางออกได้สำหรับผู้ให้บริการ‘อาหารเดลิเวอรี่’ที่เป็นแหล่งการศึกษาทางด้านโภชนาการ
แต่ที่เชื่อว่า ผู้ให้บริการ ‘อาหารเดลิเวอรี่’ สามารถดำเนินการได้ดีและให้บริการได้ทันทีหลังสำรวจความต้องการเพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ให้บริการเอง คือ อาหารทั้งคาวและหวานสำหรับ ‘ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่บ้านตามลำพัง’ และมักมีขีดความสามารถในการทำครัวได้เพียงอุ่นอาหารจากไมโครเวฟ รวมถึงที่มี 2 โรคประจำตัวสุดฮิต คือ ‘เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง’ สถานประกอบการ ‘อาหารเดลิเวอรี่’ สามารถทำอาหารทุกประเภทที่ท่านให้บริการอยู่แล้ว เพียงจัดเพิ่มเป็น ‘กลุ่มอาหารทางเลือก’ ทั้งอาหารหวาน และอาหารคาว คือ ‘อาหารที่หวานน้อย เค็มน้อย แต่ยังอร่อย’ ก็จะช่วยเพิ่มการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ลดโอกาสออกนอกบ้าน ลดการเข้าออกร้านสะดวกซื้อ
ช่วยควบคุมทั้ง 2 โรคฮิตให้ได้ดีขึ้น จนผู้สูงอายุสามารถอยู่ในกลุ่มที่สามารถรับยาจากโรงพยาบาลทางไปรษณีย์ได้ ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลบ่อย ช่วยลดการ ติดโรคจากโรงพยาบาล ลดความแออัดของโรงพยาบาล เป็นอีกวิธีที่
‘อาหารเดลิเวอรี่’ ช่วยให้ผู้มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและเมื่อติดเชื้อแล้วความรุนแรงโรคก็สูงมากที่มีความจำเป็น
ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเทคโนโลยีสูงทางการแพทย์และต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่อัตราตายของคนกลุ่มนี้ก็ยังสูงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
การมี ‘อาหารเดลิเวอรี่’ ที่ช่วยส่งเสริมควบคุมโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่ทางการแพทย์เรียกย่อว่า
‘โรคเอนซีดี (NCD: Non-communicable diseases)’ ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ที่อัตราการเป็นโรคสูงมากในบ้านเรา ตัวอย่างรายงานจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีพ.ศ. 2557 พบคนไทยเป็นเบาหวาน ร้อยละ 8.9 ส่วนในโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551-2552) ที่เผยแพร่โดย สำนักโรคไม่ติดต่อ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชากรไทย ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูง 11.5 ล้านคน
ดังนั้น โจทย์คือ คุ้มค่าไหมที่จะมี ‘อาหารเดลิเวอรี่’ สำหรับคนกลุ่มนี้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ผศ.ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
“ครัวนั้นสำคัญไฉน”
ครัว มีความสำคัญต่อที่พักอาศัยและชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าขนาดของครัวจะเล็กลงตามสภาพที่อยู่อาศัยหรือความจำเป็นใช้ เช่น ครัวในอาคารชุดที่มีพื้นที่จำกัด หรือครัวในบ้านที่สะดวกกับการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ครัวก็ยังคงคุณค่าต่อบ้านเสมอ ครัวสมัยใหม่อาจมีพื้นที่พอเหมาะกับการอุ่นอาหาร มีอุปกรณ์ครัวที่จำเป็นใช้เพียงบางชนิด เช่น หม้อหุงข้าว เตาอบไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน/กาต้มน้ำไฟฟ้า เป็นต้น แต่ทุกบ้านต้องมีครัว ทั้งนี้เพราะ ครัว เป็นสถานที่บ่มเพาะความเป็นแม่บ้านแม่เรือน สร้างนิสัยรักความสะอาด รักสุขภาพ หล่อหลอมบุคลิกของความละเมียดละไม ประณีตบรรจงให้กับสมาชิกในบ้าน งานครัวอาจนำไปสู่ความรักในการประกอบอาหารและการสร้างรายได้ ครัว คือหัวใจของบ้านทุกหลัง…….วันนี้ คุณเข้าครัวแล้วหรือยัง?
น.ส.พัสสนันท์ แย้มฉ่ำไพร
ผู้จัดการโครงการอาหารกลางวัน1(ครัวสวนดุสิต)
อาหารเดลิเวอรีเพื่อสุขภาพ ข้าวไรซ์เบอรี่ กะเพราอกไก่ ไข่ต้ม น้ำพริก ผักสด ปลาทู ผัดผักรวม ข้าวผัดต้มยำ ผัดฉ่าปลากระพง ทับทิมกรอบ บัวลอยเผือกมะพร้าวอ่อน เมี่ยงคำและผลไม้ตามฤดูกาล เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนการสูง เพราะวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้พลังงานป้องกันและต้านทานโรค ด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร เนื้อสัตว์ และการปรุงอาหารให้มีรสอร่อยจากรสมือที่เป็นเอกลักษณ์อย่างไทยๆ
ล้วนเป็นสีสันของชีวิตที่ได้รับอาหารที่มีความหลากหลาย ในยุคโควิด -19 …แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมปัจจุบัน สารเคมีที่เป็นพิษในพืชและสัตว์มีพิษแรงมาก กินเพียงไม่กี่ชิ้น ก็ออกอาการไม่สบายที่ชัดเจน เพราะ อันตรายมากับอาหารที่ไม่รู้แหล่งที่มาและกระบวนการปรุงที่ไม่สะอาดหรือสถานที่ผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หากกินแบบ
ตามใจอยาก โดยไม่คำนึงถึงพิษภัยที่ตามมา อาจกลายเป็นโรคแทรกซ้อน โรคอ้วน หรือ โรคขาดสารอาหารได้
ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีการเลือกอาหารที่สะอาด ปริมาณเหมาะสมกับวัย ควบคู่กับการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่กับชีวิตวิถีใหม่ได้แบบสบายๆๆ