“อาหารเดลิเวอรี่” 1 ใน New Normal

ความตื่นตัวในด้านอาหารเดลิเวอรี่ในยุคนี้มีมาก ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น จากการตระหนักและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 นี้เองที่จะมีผลให้ความเคยชินเกี่ยวกับ การบริโภคอาหารเดลิเวอรี่ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งก็น่าเป็นกังวลอยู่เหมือนกันว่าวัฒนธรรมในการกินอาหารของคนไทยและการ สื่อสัมพันธ์กันในการกินอาหารร่วมกันจะเริ่มลดลงกลายเป็น ความเป็นส่วนตัวมีมากขึ้น นอกจากนี้ ขยะอันเกิดจากอาหารเดลิเวอรี่ก็จะมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันก็จะยังคงเป็นพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ บางอย่างพัฒนาไปเร็วก็เป็นปัญหาตามมาเร็วด้วยเช่นกัน เราคิดเรื่องนี้กันไว้บ้างหรือเปล่า

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

            ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์เฝ้าระวังโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น “ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หรือ “ทำงานที่บ้าน” (WFH) ดูจะเป็นการบีบบังคับทางอ้อมที่ ทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ ค่อยปรับเปลี่ยนไป ระยะแรกก็คิดว่า “เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า” นาน ๆ  เข้าเริ่มจะเกิดความเคยชิน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่ต้องกินเป็นประจำวันละ 3 มื้อ

            หลาย ๆ คน เริ่มต้นจากหาอาหารการกินยากลำบาก  ร้านอาหารก็ปิดตลอดเพราะถือว่าเป็นแหล่งแออัดเสี่ยงที่จะติด โควิด-19  ยิ่งมีมาตรการจากรัฐบาลกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน  ทำให้ต้องสั่ง “อาหารเดลิเวอรี่”  แรก ๆ อาจจะเป็นภาวะจำยอม แต่เมื่อเกิดความสะดวก รวดเร็ว เลือกได้หลากหลายร้าน   สามารถกดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน รวมทั้งจ่ายค่าอาหารผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งได้อีกด้วย  จึงทำให้  New Normal ด้านการกินอยู่เข้ามาแทนที่แบบเดิม ๆ โดยไม่รู้ตัว…

            ข้อมูลหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับอาหารการกินในยุคโควิด-19 ที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้าม ได้แก่

– ช่วงโควิด–19 บริการอาหารเดลิเวอรี่เติบโตกว่าช่วงธรรมดาถึง 3 เท่า

– เทรนด์การสั่งอาหารจากเดิมก่อน โควิด-19 ระบาด ลูกค้าส่วนใหญ่จะสั่งเครื่องดื่มและของหวานมากที่สุด แต่พอมีมาตรการ WFH การสั่งอาหารเดลิเวอรี่จะเน้นอาหารคาวเป็นหลัก  โดยเฉพาะมื้อเที่ยงและมื้อค่ำ

– อาหารที่มียอดเติบโตและคนสั่งมากที่สุด คือประเภทชาบู-ปิ้งย่าง เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า

– การใช้บริการ “อาหารเดลิเวอรี่” แม้จะเป็นช่วงเพียง 2 เดือน แต่จำนวนไม่น้อยที่เริ่มเสพติด ทั้งความสะดวกสบาย รวดเร็ว ทำให้ยอดลูกค้าใหม่ของอาหารเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นทันตาเห็นทีเดียว

– การเพิ่มการให้บริการของ “อาหารเดลิเวอรี่” ที่เปรียบได้ว่า “ผุดขึ้นราวดอกเห็ด”

มีรายงานที่น่าสนใจจากงาน LIVE EVENT LINE FOR BUSINESS ภายใต้หัวข้อ THAILAND NOW AND NEXT AFTER COVID-19 จัดโดยไลน์ประเทศไทย มีข้อมูลน่าสนใจคือ พฤติกรรมผู้บริโภคไทยได้เปลี่ยนไปจากก่อน โควิด-19 ระบาด โดยฉายภาพให้เห็นว่า  เทรนด์ผู้บริโภคไทยในก้าวต่อไปหลังสถานการณ์ โควิด-19   เมื่อยุติการกักตัวอยู่บ้านได้เปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่อและการบริโภคของผู้คนเน้นช่องทางออนไลน์มากขึ้น  และมีแนวโน้มจะกลายเป็น พฤติกรรมถาวรแม้ โควิด-19 จะดีขึ้นในอนาคต

การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการใช้แอปพลิเคชันออกกำลังกายหรือเกี่ยวกับสุขภาพกลายมาเป็นตัวเลือกสำคัญในช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคมและทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) อีกทั้งแบรนด์และสินค้าในประเทศเองมีแนวโน้มได้รับความนิยมสูงขึ้น  เนื่องจากผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าที่ไม่ต้องส่งระยะไกล หรือใช้เวลานาน  จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและแบรนด์สินค้าไทยจะผลักดันสินค้าตัวเองมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้โซเชียลมีเดียยังได้กลายเป็นสื่อกระแสหลักและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค  กลายเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญ  โดยพบว่าคนมีพฤติกรรมเข้าไปอ่านข่าวสารโดยเฉลี่ยถึง 12 ครั้งต่อสัปดาห์

รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นของคนไทยยุค โควิด-19 จากผลสำรวจอีกชิ้นหนึ่งของสวนดุสิตโพล ที่ทำให้ผู้ให้บริการ

            New normal เกี่ยวกับความสะอาด ถูกหลักอนามัย ตัวเลขสูงถึง 97.73% โดยสะท้อนผ่าน สวนดุสิตโพล ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการอาหารเดลิเวอรี่ จำนวน 1,043 คน  แม้ว่าการสำรวจการบริโภคอาหารทุกครั้งความสะอาดกับความอร่อยถูกปากสูสีกัน แต่ครั้งนี้อิทธิพลของ โควิด-19 ทำเอาความสะอาดชนะขาดลอย

            โควิด –19 ได้ต่อยอดคำว่า “อาหารสะอาด” ไปถึงที่มาของการผลิตอาหารรวมถึงกระบวนการจัดส่งอาหารสด อาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคใส่ใจมากขึ้น เรียกว่า “วัตถุดิบ” ที่ใช้ประกอบอาหารจะอยู่ในสายตาและความคิดคำนึงของผู้บริโภคโดยตลอดเวลา มิใช่ว่าจะเลือกแค่ “เมนูอาหาร” เท่านั้น

            “สารอาหารอะไรบ้างที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน”  จะเป็นคำถามที่ร้านอาหารเดลิเวอรี่ถูกถามหาบ่อย ๆ คงไม่ใช่แค่อาหารสุขภาพเท่านั้น

            พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็น New normal เหล่านี้ ถ้าไม่บอกว่าเป็นผลพวงจาก โควิด – 19 แล้วจะบอกว่ามาจากอะไร? สงสัยมั๊ยครับ! ว่าทำไม?  โควิด-19 มีอิทธิพลมากจริง ๆ

รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกกานต์ วีระกุล

ผู้ช่วยอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

           จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ก่อให้เกิดผลกระทบกับคนทุกเพศทุกวัย วิถีการดำเนินชีวิตถูกปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)  การทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือมาตรการอื่นๆ ที่เป็นคำแนะนำในการปฏิบัติตนช่วงโควิด-19 นี้ ส่งผลให้เกิดเป็น New Normal หรือความปกติในรูปแบบใหม่ ภายใต้การปรับตัวนี้ ธุรกิจ Food Delivery ที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มมาสักระยะหนึ่ง กลายเป็นธุรกิจใหม่มาแรงที่ได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าในช่วงแรกนี้ผู้คนจะตื่นเต้นและใช้บริการผ่าน Food Delivery Application กันอย่างมากมาย เนื่องจากสะดวก และมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวธุรกิจ Food Delivery ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือคุณภาพอาหารทั้งด้านความสะอาดและความปลอดภัยในการบริโภค รสชาติ รูปแบบการจัดบริการอาหาร และคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน เป็นต้น Suan Dusit Food Delivery เป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในคุณภาพและการบริการ จากความเชี่ยวชาญ และความใส่ใจ ในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การปรุงประกอบตามสูตรเฉพาะสวนดุสิต ที่รสชาติถูกปากและถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังมีเมนูที่หลากหลาย สามารถเลือกสั่งได้อย่างมั่นใจ

นางสาวนวลเพ็ญ ธรรมษา

ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร

           จากสถานการณ์โรคระบาดโควิท-19 ในปัจจุบัน ได้สร้างผลกระทบไปหลากหลายธุรกิจ ซึ่งอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับตัวให้ธุรกิจด้านอาหารมีอัตราการเติบโตต่อไป พร้อมรับมือกับวิถีชีวิตใหม่ “New Normal” ที่จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบอาหารต้องมีรูปแบบรองรับการขยายตัวของตลาดยุคใหม่ การเข้าถึงผู้บริโภคโดยวิธี Food Delivery เพื่อสร้างความรวดเร็ว ความสะดวกปลอดภัย และที่สำคัญอาหาร ต้องเน้นคุณค่าทางโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร ความหลากหลายของเมนูให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การสร้างความประทับใจด้านการบริการอาหารและเครื่องดื่มให้ผู้บริโภค เกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายและพิสูจน์ความเป็นมืออาชีพทางด้านอาหารของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต “Suan dusit Delivery เชี่ยวชาญทางด้านทฤษฎี ชำนาญด้านการปฏิบัติ”