“อาหารเดลิเวอรี่” ก็มี “กฎหมายควบคุม”

มาตรการของรัฐที่กำหนดขึ้นมาเพื่อกำกับและควบคุมการผลิตสินค้าประเภทอาหารและบริการเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากเพียงใดก็ย่อมต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาหารเดลิเวอรี่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
การแข่งขันที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตอาหารทำให้มาตรการที่กำหนดขึ้นมีความสำคัญ

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

         สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในปัจจุบันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อชีวิตและการดำรงชีพของประชาชนอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งสภาวะวิกฤติดังกล่าวก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ บริการรับส่งอาหาร หรือ ฟู้ดเดลิเวอรี่ (Food Delivery Platform) นั้นกลับเป็นที่ต้องการของประชาชน ที่จำเป็นต้องกักตัวอยู่บ้านตามมาตรการของรัฐบาลและการช่วยชาติด้วยวิธีแบบ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความเติบโตของธุรกิจบริการรับส่งอาหารมีความต้องการเพิ่มขึ้นมากถึง 2-3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับความต้องการของประชาชนในการบริการรับส่งอาหารก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีข้อที่น่าพิจารณาถึงมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหารที่อยู่ในรูปของการขนส่ง นั้นมีเงื่อนไขทางกฎหมายใดควบคุมอาหารเดลิเวอรี่ หรือไม่ อย่างไร

         อาหารเดลิเวอรี่ คือ ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิตที่คนกิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือใน
รูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา ซึ่งได้ดำเนินถานีอนและกระบวนี่าางไปยังปลายทางจก่อนว่า ยวิธีแบบการจัดส่งด้วยวิธีการและขั้นตอนการบริการขนส่งสินค้าอาหารจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง จะเห็นว่าความหมายอาหาร
เดลิเวอรี่ดังกล่าวนั้น เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กันในทางกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาหารเดลิเวอรี่ อาทิเช่น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 (จักรยานยนต์อยู่ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ด้วย) พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541) และพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  เป็นต้น ดังนั้นหากพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมที่มีความสัมพันธ์กับอาหารเดลิเวอรี่ สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้ ส่วนแรก ได้แก่ พ.ร.บ อาหาร พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่มีความมุ่งหมายในการควบคุมคุณภาพอาหาร ความปลอดภัย ความคุ้มค่ากับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนด เงื่อนไข และวิธีการผลิตอาหาร  นอกจากนี้ผู้ผลิตหรือนำเข้าอาหารจะต้องขออนุญาตตามที่กฎหมายอาหารกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่การขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตหรือนำเข้าอาหาร การขออนุญาตเกี่ยวกับฉลาก และการโฆษณาด้านอาหาร ซึ่งกฎหมายได้กำหนดว่าห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง นอกจากนี้กฎหมายได้กำหนดให้มีการควบคุมอาหาร โดยมิให้ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอม อาหารผิดมาตรฐาน และอาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด ส่วนที่สอง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาหารเดลิเวอรี่ ได้แก่ กฎหมายรถยนต์และกฎหมายการขนส่งทางบก กล่าวคือ ในขณะที่ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าและอาหารแบบด่วนๆ ได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ในแง่ของกฎหมายควบคุม กำกับ ดูแลธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายในการบริการขนส่งสินค้าและอาหาร ยังมีบางส่วน
ที่ไม่สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจดังกล่าว ซึ่งกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจบริการขนส่งสินค้าแบบด่วน ได้แก่ พ.ร.บ.การขนส่ง ทางบก พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งสินค้าต้องขอรับใบอนุญาตการขนส่งและต้องจดแจ้งทะเบียนรถยนต์ชนิดรับจ้างขนส่งสินค้า แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่เลือกใช้รถขนาดเล็ก อย่างรถปิกอัพหรือจักรยานยนต์ เพื่อจัดส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็ก และเน้นส่งสินค้าภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว  แต่กฎหมายขนส่งปัจจุบันมีการกำหนดให้รถที่ใช้ในการรับจ้างต้องเป็นรถขนาดใหญ่ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น เมื่อพิจารณากฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกจะยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้รถขนาดเล็กเพื่อบริการรับจ้างขนส่งสินค้าอาหาร ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการขนส่งในปัจจุบันส่วนมาก จะนำรถกระบะหรือรถปิกอัพไปจดทะเบียน
เป็นรถขนส่งส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ผิดประเภทและมิให้นำรถขนส่งส่วนบุคคลมาใช้ในกิจการรับจ้าง หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีการขนส่งสินค้าและอาหารนั้นกฎหมายมิได้ห้ามที่จะนำไปใช้เพื่อรับจ้างขนส่งสินค้าและอาหาร เนื่องจากสามารถจดทะเบียนเป็นจักรยานยนต์ส่วนบุคคล หรือจักรยานยนต์สาธารณะตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ ส่วนที่สาม เป็นกฎหมายควบคุม ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเดลิเอรี่ ได้แก่ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ได้กำหนดสิทธิของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการในการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงการบริการอื่น ๆ
จะต้องได้มาตรฐาน ความปลอดภัย และมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้มีการโฆษณาหรือแนะนำไว้ ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับ ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการบริโภคอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง หน่วยงานควบคุมดูแล คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข แต่หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค หน่วยงานควบคุมดูแล คือ กรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ เป็นต้น สำหรับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารนั้นกฎหมายถือว่าเป็นสินค้าหรือบริการเฉพาะจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และส่วนที่สุดท้าย เป็นกฎหมายแข่งขันทางการค้า ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายควบคุมอาหารเดลิเวอรี่ฉบับหนึ่งทีมีสาระสำคัญที่ให้อำนาจแก่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าในการติดตามและตรวจสอบพฤติกรรมทางการค้าของผู้ให้บริการ
ที่มีการปฎิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ยกตัวอย่างเช่นกรณีผู้ให้บริการส่งอาหารมีการเรียกเก็บค่าอาหาร ค่าบริการ
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในอัตราที่เพิ่มสูงส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน การกระทำดังกล่าว อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 อันเป็นการกระทำที่เป็นผล ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการธุรกิจบริการรับ-ส่งอาหารรายอื่นๆ ซึ่งจะมีโทษอาญาและโทษทางปกครอง สำหรับโทษทางปกครอง คือ การปรับในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด หรือกรณีมีพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรม หรือกรณีมีการตกลงร่วมกันในการกำหนดอัตราค่าบริการ อันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขันทางการค้า จะมีโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ ในปีที่กระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ

          บทส่งท้าย อาหารเดลิเวอรี่ เป็นการดำเนินธุรกิจบริการรับส่งสินค้าอาหารที่มีกฎหมายควบคุม
แต่ในแง่ของการบังคับใช้เป็นเรื่องที่ควรต้องพินิจให้รอบด้าน เพราะเจตจำนงของกฎหมายมิได้มีเพื่อให้เจ้าหน้าที่
มีอำนาจเหนือและให้ดำเนินการอย่างไม่เป็นธรรมกับประชาชน ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและควรแก้ไขกฎหมายให้ทันต่อสถานการณ์
และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายควบคุม

รศ.ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์
    คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง

ดร.สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ

ผู้อำนวยการกองกฏหมาย

กฎหมายธุรกิจ อาหารเดลิเวอรี่

          นับวันธุรกิจบริการจัดส่งอาหารจะมาแรงและเป็นที่ต้องการของตลาด แทบจะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของเรา อย่างไรก็ตามสิทธิของผู้บริโภคก็ยังได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ เช่นเดิม คือ  ๑.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาของคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ๒.สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกสินค้าหรือบริการ ๓.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากสินค้าหรือบริการ ๔.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และ๕.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย 
ในส่วนของผู้ผลิต ผู้ขายหรือนำเข้า ส่งออกด้านอาหาร ยังมีพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่กล่าวถึงความรับผิดชอบตามกฎหมาย ในฐานะผู้ผลิต และ ผู้จำหน่ายซึ่งยังต้องรับประกันสินค้าหรืออาหารดังกล่าวไปด้วยว่า
มีคุณภาพและปริมาณของอาหารตรงตามที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ไว้ 

ผศ. กันวิศา สุขพานิช

อาจารย์โรงเรียนกฎหมายและการเมือง

มาตรการทางกฎหมายกับกับธุรกิจอาหาร

          จากปรากฎการณ์ COVID ทำให้รัฐต้องกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในรูปแบบใหม่ๆ ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผล
กระทบอันก่อให้เกิดมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล  (social distancing) การวางระบบการใช้พื้นที่ (zoning) การมีระบบหมุนเวียนภายในและระบบถ่ายเทอากาศ (circulation and ventilation) การลดการสัมผัส (contactless) รวมถึงมาตรการการตรวจคัดกรองบุคคลก่อนเข้าใช้บริการและให้มีการลงทะเบียน (ไทยชนะ) ทำให้เกิด new normal เป็นภาพที่ผู้บริโภคต้องได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิและลงทะเบียน การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การกำหนดให้นั่งโต๊ะละ 2-3 คนโดยมีระยะห่างระหว่างบุคคล (แม้กระทั่งโต๊ะละหนึ่งคนสำหรับอาหารประเภทสุกี้ชาบูก็มีปรากฏให้เห็น) การใส่หน้ากากและถุงมือของผู้ให้บริการ หรือการสนับสนุนให้ผู้มาใช้บริการใช้ระบบการโอนเงินแทนการชำระด้วยเงินสดเพื่อป้องกันการติดต่อ โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในฐานะผู้ให้บริการทางด้านอาหารหลากหลายรูปแบบก็ได้ดำเนินการตามมาตรการที่รัฐกำหนดเพื่อให้
ผู้มาใช้บริการได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมั่นใจในความปลอดภัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น